อาจารย์ผูสอน

อาจารย์ สุจิตราภรณ์ สำเภาอินทร์
อาจารย์ สมฤทัย แสงสุริยา


ระบบเครือข่ายแบบ WAN

-ประเภทของเครือข่ายระยะไกล
แบ่งได้ 2 ประเภท
1.เครือข่ายส่วนตัว เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์การ เช่น องค์การที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่
2.เครือข่ายสาธารณะ หรือ เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล ซึ่งองค์กรที่ได้รับสัมปทานทำการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่วไปหรือองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการวางเครือข่ายเองสามารถนำใช้งานได้
- เครือข่ายแบบสลับวงจร เป็นบริการระบบเครือข่ายสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น ระบบโทรศัพท์และระบบสายเช่า
- เครือข่ายแบบสลับแพคเกต เป็นระบบเครือข่ายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน มีการทำงานโดยใช้วิธีแบ่งข้อมูลที่ต้องการส่งระหว่างจุด 2 จุด ออกเป็น ชิ้นเล็ก ๆ เพื่อทำการส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ
- ISDNบริการของ ISDN สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1 .Narrow Band ISDN เป็นโครงข่ายที่พัฒนาเพิ่มเติมจากระบบโทรศัพท์เดิม โดยใช้สัญญาณดิจิตอลในการสื่อสารแทนการใช้สัญญาณอานลอกผ่านคู่สายที่มีอยู่เดิม สามารถแบ่งได้เป็น
1.1Basic Rate Interface (BRI) เป็นการเชื่อมต่อขั้นพื้นฐานของ ISDN
1.2Primary Rate Interface (PRI) จะเป็นการสื่อสารแบบความเร็วสูง
2.Broadband ISDN (ISDN-B) เป็นระบบ ISDN ที่ขยายขีดความสามารถโดยใช้โปรโตคอล
- ATM  (Asynchronous Transfer Mode) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังได้รับการสนฝจอย่างกว้างขวาง
ที่มา

ระบบเครือข่ายแบบ WAN

ระบบเครือข่ายแบบ WAN
  • ประเภทของเครือข่ายระยะไกล เครือข่าย สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
    • เครือข่ายส่วนตัว (Private Network) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์การที่เป็นเจ้าของเครือข่ายอยู่ เช่น องค์การที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในระดับกายภาพ (Physical Layer) ของการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายส่วนตัวจะยังคงต้องใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ สายเช่า ดาวเทียม เป็นต้น
      การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือจ่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วยจ้อเสียคือในกรณีที่ได้ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะและหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่าง ๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย รวมทั้งอาจไม่สามาถจัดหาช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้
    • เครือข่ายสาธารณะ (Public Data Network) เครือข่ายสาธารณะ (PDNs) หรือที่บางครั้งเรียกว่า เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (Value Assed) เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN) ซึ่งองค์กรที่ได้รับสัมปทานทำการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่วไปหรือองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการวางเครือข่ายเองสามารถแบ่งกันเช่าใช้งานได้ โดยการจัดตั้งอาจทำการวางโครงข่ายช่องทางการสื่อสารเอง หรือเช่าใช้ช่องทางการสื่อสารสาธารณะก็ได้ ระบบเครือข่ายสาธารณะ จะนิยมใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบ WAN กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่างหลาย ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่าง ๆ
  • เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit-Switching Network) เป็นบริการระบบเครือข่ายสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น ระบบโทรศัพท์และระบบสายเช่า (leased line) ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็นการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุด 2 จุด เพื่อให้สามารถติดต่อส่งข้อมูล (หรือเสียง) กัน โดยการเชื่อมวงจรอาจเชื่อมอยู่ตลอดเวลา เช่น สายเช่าหรือเชื่อมต่อเมื่อมีการติดต่อเช่าโทรศัพท์ก็ได้ รวมทั้งอาจเป็นเครือข่ายอนาลอก เช่น โทรศัพท์หรือเครือข่ายดิจิตอล เช่น ISDN ก็ได้
    ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็น การเชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point) จึงมีข้อดีคือมีอัตราความเร็วในการสื่อสารที่คงที่ตลอดเวลา เนื่องจากไม่ต้องทำการแบ่งช่องทางกับผู้อื่น แต่จุดด้อยคือต้งมีการเชื่อต่อกันทุก ๆ จุดที่มีการติดต่อกัน
  • เครือข่ายแบบสลับแพคเกต (Packet Switching Data Network)
เป็นระบบเครือข่ายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน มีการทำงานโดยใช้วิธีแบ่งข้อมูลที่ต้องการส่งระหว่างจุด 2 จุด ออกเป็น ชิ้น (packet) เล็ก ๆ เพื่อทำการส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ การเแบ่งข้อมูลออกเป็นแฟกเกตมีข้อดี คือ ทำให้สามารถใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพียงช่องทางเดียวในการเชื่อมเข้าสู่เครือข่าย ไม่ว่าวจะมีการติดต่อกันระหว่างกี่จุดก็ตาม รวามทั้งสามารถส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคือเมื่อถึงจุดหมายแล้ว จึงเป็นการใช้ทรัพยาการ (resource) ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
  • ISDN
บริการ Integrated Services Digital Network (ISDN) เป็นระบบเครือข่ายแบบดิจิตอลซึ่งสามารถทำการส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมเข้ากับ ISDN ได้โดยตรงผ่านทางตัวเชื่อมแบบดิจิตอล ทำให้ไม่จำเป็นต้องผ่านการแปลงระหว่างสัญญาณอนาลอกและดิจิตอลด้วยโมเด็มอีก อนกจากนี้แต่ละช่องทาง (channel) ของ ISDNยังมีความเร็วสูงถึง 64 Kbps
บริการของ ISDN จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
  • Narrow Band ISDN (ISDN-N) เป็นโครงข่ายที่พัฒนาเพิ่มเติมจากระบบโทรศัพท์เดิม โดยใช้สัญญาณดิจิตอลในการสื่อสารแทนการใช้สัญญาณอานลอกผ่านคู่สายที่มีอยู่เดิม สามารถแบ่งได้เป็น
    • Basic Rate Interface (BRI) เป็นการเชื่อมต่อขั้นพื้นฐานของ ISDN โดยภายในหนึ่งคู่สาย (หนือหนึ่งหมายเลยโทรศัพท์) จะมีช่องสัญญาณอยู่ 3 ช่อง ประกอบด้วยช่องสัญญาณแบบ B (Bearer) ซึ่งสามารถส่งได้ทั้งข้อมูลและเสียงด้วยความเร็ว 64 ต่อช่อง จำนวน 2 ช่อง และช่องสัญญาณแบบ D (Data) ซึ่งใช้ควบคุมช่องสัญญาณแบบ B จะส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 16 Kbps จำนวน 1 ช่อง (2B+D)
    • Primary Rate Interface (PRI) จะเป็นการสื่อสารแบบความเร็วสูง โดยประกอบด้วย Bearer Channel จำนวน 23 ช่อง และ Data Channel ขนาดความเร็ว 64 Kbps อีก 1 ช่อง ทำให้ได้ความเร็วสูงถึง 1.544 Mbps มีใช้ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานแบบ 30 Bearer บวกกับ 1 Data Channel สำหรับความเร็ว 2.048 Mpbs ซึ่งใช้กันในยุโรปและไทย
  • Broadband ISDN (ISDN-B)
เป็นระบบ ISDN ที่ขยายขีดความสามารถโดยใช้โปรโตคอล ATM (Asynchronous Transfer Mode) ทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ด้วยความเร็วตั้งแต่ 45 Mbps จนถึง 1 Gbps (Gigabit/Second) จึงสามารถใช้ในการส่งข้อมูลภาพและเสียงได้อย่างสมบูรณ์
  • ATM
เครือข่ายแบบเอทีเอ็ม (Asynchronous Transfer Mode) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังได้รับการสนฝจอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีความสามารถในการรับรองการจัดหา bandwidth ทำให้เหมาะกับการใช้งานแอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ เช่น multimedia ซึ่งต้องการทำการส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากที่สัมพันธ์ รวมทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ได้ทั้ง LAN และ WAN อีกด้วย
เครือข่าย ATM สามารถใช้กับสายเคเบิลที่มีอยู่แล้วที่ไม่ใช่สาย Fiber ได้ โดยเพียงแต่เปลี่ยน adapter และ swiches ความเร็วจะอยู่ระหว่าง 25 ถึง 155 Mbps

ระบบเครือข่าย

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้

วิชานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร

วิชาคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมของมัธยมศึกษาปีที่ 4  ภาคเรียนที่ 2 นี้  อาจารย์ให้พวกเราเรียนเกี่ยวกับการสร้าง  บล็อก  และการใช้โปรแกรมโฟโต้ช็อปในการสร้างรูปภาพลงในบล็อกของเรา